ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 20
นางปรียา มาสุข
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 2
เขตมีนบุรีเป็นเขตการปกครองหนึ่งของกรุงเทพมหานครในจำนวน 50 เขต เป็นเขตชั้นนอก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประมาณ 63.645 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 2 แขวง คือ แขวงมีนบุรีและแขวงแสนแสบ ทางทิศใต้ของเขตมีนบุรีติดต่อกับเขตลาดกระบัง จึงเป็นประตูด้านหนึ่งที่มุ่งสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนทางทิศตะวันออกจดเขตหนองจอกเป็นทางผ่านที่จะออกต่างจังหวัดปัจจุบันเขตมีนบุรีมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะแขวงมีนบุรีมีการพัฒนามากขึ้น ส่งผลให้มีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น เกิดการขยายตัวของชุมชน ประชากรเพิ่มสูงขึ้นเศรษฐกิจมีการขยายตัว มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าผ่านแนวถนนรามอินทราและถนนรามคำแหงการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ สถานประกอบการค้า ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น การใช้ประโยชน์ในที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนมาก จึงต้องมีการสำรวจพื้นที่และจัดทำข้อมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้เป็นปัจจุบันรวมถึงเร่งรัดจัดเก็บภาษีให้ถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีใหม่ที่ใช้แทนภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ ผู้เสียภาษีบางรายอาจยังขาดความรู้ความเข้าใจในภาษีท้องถิ่น ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีของเขตมีนบุรีไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดได้
50130500/50130500
2.1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีและเพิ่มรายได้แก่กรุงเทพมหานคร 2.2 เพื่อให้การจัดเก็บภาษีสามารถจัดเก็บได้ ครอบคลุมทั่วพื้นที่เขตมีนบุรี 2.3 เพื่อให้ผู้เสียภาษีในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาษีท้องถิ่นและตระหนักในหน้าที่การเสียภาษี
3.1 สามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมายที่กรุงเทพมหานครกำหนด 3.2 สามารถจัดเก็บภาษีรายใหม่ได้จำนวนเพิ่มมากขึ้น 3.3 สามารถจัดเก็บลูกหนี้ค้างชำระภาษีได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 3.4 ผู้เสียภาษีมีความพึงพอใจต่อระบบบริการของฝ่ายรายได้ ไม่น้อยกกว่าร้อยละ 90
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๔ - การคลังและงบประมาณ |
๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่เป็นมาตรฐานสากลแ% |
๗.๔.๑.๑ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : 23/11/2565 : ดำเนินการเร่งรัดจัดเก็บภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.65-21 พ.ย. 65 มีผลการจัดเก็บ ดังนี้ -ภาษีโรงเรือนและที่ดิน จัดเก็บได้ จำนวน 14 ราย เป็นเงิน236,234.46 บาท -ภาษีบำรุงท้องที่ จัดเก็บได้ 15 ราย เป็นเงิน 3,121.57 บาท -ภาษีป้าย จัดเก็บได้ 40 ราย เป็นเงิน 78,504.14 บาท -ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 630 ราย เป็นเงิน 8,050,558.56 บาท รวมทั้งสิ้น 699 ราย เป็นเงิน 9,061,865.04 บาท คิดเป็นร้อยละ - สำนักการคลังยังไม่ได้กำหนดประมาณการรายรับ 29/12/2565 ดำเนินการเร่งรัดจัดเก็บภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2565 มีผลการจัดเก็บ ดังนี้ - ภาษีโรงเรือนเรือนและที่ดิน จัดเก็บได้ จำนวน 29 ราย เป็นเงิน 2,282,397.46 บาท -ภาษีบำรุงท้องที่ จัดเก็บได้ 17 ราย เป็นเงิน 3,182.05 บาท -ภาษีป้าย จัดเก็บได้ 52 ราย เป็นเงิน 91,418.24 บาท -ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 1,137 ราย เป็นเงิน 10,690,861.34 บาท รวมทั้งสิ้น 1,235 ราย เป็นเงิน 13,067,859.09 บาท คิดเป็นร้อยละ - สำนักการคลังยังไม่ได้กำหนดประมาณการรายรับ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 2566 ร้อยละความสำเร็จของการจัดเก็บรายได้
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **